TTL ของ DNS จะคล้ายกับ TTL ที่ใช้ในเครือข่ายไอพี คือเป็นตัวบอกอายุของ DNS record มีหน่วยเป็นวินาทีครับ จุดทีมีผลกระทบกับเราผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตคือ เป็นค่าที่บอกให้ DNS server ของ ISP ที่เราใช้อยู่จะเก็บแคช (Cache) ของ DNS record ไว้นานแค่ไหน ซึ่งหากกำหนดค่าไว้นานๆ ก็ไม่ต้องถามกันบ่อยๆ ทำให้ DNS server โหลดไม่สูง แต่ก็มีข้อเสียคือหากเปลี่ยน IP ก็ต้องรอให้ cache expired ซะก่อน
และตัวนี้เองก็เป็นเหตุผลที่บอกกันว่าถ้าจะย้ายเวปจาก colo เจ้าเดิมไปเจ้าใหม่ต้องรอ 2-3 วันจึงจะดำเนินการเสร็จ เพราะโดยทั่วไปแล้วหลายๆ Colo ที่เค้ามักจะกำหนด TTL ไว้เป็นหลักวันครับ
หากต้องการทดสอบว่าโดเมนที่เราสนใจสามารถใช้คำสั่ง
nslookup -qt=soa ชื่อโดเมน
ตัวอย่างเช่น
nslookup -qt=soa modplusplus.com
Server: google-public-dns-a.google.com
Address: 8.8.8.8Non-authoritative answer:
modplusplus.com
primary name server = ns1.wordpress.com
responsible mail addr = hostmaster.wordpress.com
serial = 2005071858
refresh = 14400 (4 hours)
retry = 7200 (2 hours)
expire = 604800 (7 days)
default TTL = 300 (5 mins)
แสดงให้เห็นว่าโดเมน modplusplus.com มีค่า TTL 300 วินาที หากภายใน 300 วินาทีมีไคลเอนท์มาถาม DNS server ที่ ISP อีกก็จะตอบค่าเดิมได้เลย แต่หากพ้น 300 วินาทีแล้ว DNS server ที่ ISP จำเป็นต้องวิ่งมาถามที่ ns1.wordpress.com ใหม่ครับ