Category: VMware


การอัพเกรด ESXi สามารถทำได้หลายวิธี ปกติผมจะใช้วิธีสร้าง USB Boot ESXi Installer แต่วันนี้จะมาใช้วิธี online upgrade ผ่าน cli

โดยเริ่มจาก
1) SSH หรือ console ที่ ESXi ขอละไม่พูดถึงวิธีเปิด service ดังกล่าวนะครับ
2) จากนั้นพิมพ์ vmware -v เพื่อตรวจสอบเวอร์ชั่นก่อนอัพเกรด

[root@NUC-1:~] vmware -v
VMware ESXi 6.0.0 build-3620759
[root@NUC-1:~]

3) เปิดไฟร์วอลล์ด้วยคำสั่ง

[root@NUC-1:~] esxcli network firewall ruleset set -e true -r httpClient
[root@NUC-1:~]

4) list เวอร์ชั่นอัพเกรดที่มี

[root@NUC-1:~] esxcli software sources profile list -d https://hostupdate.vmware.com/software/VUM/PRODUCTION/main/vmw-depot-index.xml | grep -i ESXi-6.5 | sort

จะได้ผลลัพธ์เป็น

ESXi-6.5.0-20170104001-no-tools VMware, Inc. PartnerSupported
ESXi-6.5.0-20170104001-standard VMware, Inc. PartnerSupported
ESXi-6.5.0-20170301001s-no-tools VMware, Inc. PartnerSupported
ESXi-6.5.0-20170301001s-standard VMware, Inc. PartnerSupported
ESXi-6.5.0-20170304001-no-tools VMware, Inc. PartnerSupported
ESXi-6.5.0-20170304001-standard VMware, Inc. PartnerSupported
ESXi-6.5.0-20170304101-no-tools VMware, Inc. PartnerSupported
ESXi-6.5.0-20170304101-standard VMware, Inc. PartnerSupported
ESXi-6.5.0-20170404001-no-tools VMware, Inc. PartnerSupported
ESXi-6.5.0-20170404001-standard VMware, Inc. PartnerSupported
ESXi-6.5.0-20170701001s-no-tools VMware, Inc. PartnerSupported
ESXi-6.5.0-20170701001s-standard VMware, Inc. PartnerSupported
ESXi-6.5.0-20170702001-no-tools VMware, Inc. PartnerSupported
ESXi-6.5.0-20170702001-standard VMware, Inc. PartnerSupported
ESXi-6.5.0-20171004001-no-tools VMware, Inc. PartnerSupported
ESXi-6.5.0-20171004001-standard VMware, Inc. PartnerSupported
ESXi-6.5.0-4564106-no-tools VMware, Inc. PartnerSupported
ESXi-6.5.0-4564106-standard VMware, Inc. PartnerSupported
[root@NUC-1:~]

no-tools หมายถึงไม่รวม VMware Tools
standard จะรวม VMware Tools มาด้วย แต่จำนวนข้อมูลที่ต้องดาวโหลดก็มาขึ้นอีกนิดหน่อย

5) สั่งอัพเกรด ด้วยเวอร์ชั่นที่ต้องการ

[root@NUC-1:~] [root@NUC-1:~] esxcli software profile update -p ESXi-6.5.0-20170104001-standard -d https://hostupdate.vmware.com/software/VUM/PRODUCTION/main/vmw-depot-index.xml

จะได้ผลลัพธ์ยาวมาก ตัวยย่างข้างล่างตัดมาแค่บางส่วน แต่ตอนต้นๆ จะมีบอกว่า “Reboot Required: true”

Update Result
   Message: The update completed successfully, but the system needs to be rebooted for the changes to be effective.
   Reboot Required: true
   VIBs Installed: VMW_bootbank_ata-libata-92_3.00.9.2-16vmw.650.0.0.4564106, VMW_bootbank_ata-pata-amd_0.3.10-3vmw.650.0.0.4564106, VMW_bootbank_ata-pata-atiixp_0.4.6-4vmw.650.0.0.4564106, VMW_bootbank_ata-pata-cmd64x_0.2.5-3vmw.650.0.0.4564106, VMW_bootbank_ata-pata-hpt3x2n_0.3.4-3vmw.650.0.0.4564106, VMW_bootbank_ata-pata-pdc2027x_1.0-3vmw.650.0.0.4564106, VMW_bootbank_ata-pata-serverworks_0.4.3-3vmw.650.0.0.4564106, VMW_bootbank_ata-pata-sil680_0.4.8-3vmw.650.0.0.4564106, VMW_bootbank_ata-pata-via_0.3.3-2vmw.650.0.0.4564106, VMW_bootbank_block-cciss_3.6.14-10vmw.650.0.0.4564106, VMW_bootbank_char-random_1.0-3vmw.650.0.0.4564106, VMW_bootbank_ehci-ehci-hcd_1.0-

6) เสร็จแล้วก็ปิดไฟร์วอลล์ ที่เปิดไว้ด้วยคำสั่ง

[root@NUC-1:~] esxcli network firewall ruleset set -e false -r httpClient


7) แล้วก็ reboot

[root@NUC-1:~] reboot

8) ถ้าอยากตรวจสอบก็ SSH เข้าไปรัน vmware -v อีกครั้ง

[root@NUC-1:~] vmware -v
VMware ESXi 6.0.0 build-4887370
[root@NUC-1:~]

อ้างอิงจาก
How to Upgrade ESXi 6.0 to 6.5 via CLI [On Line]

Advertisement

โดยค่ามาตรฐาน VMware vSphere ESXi สามารถทำงานร่วมกับ Synology NAS ได้ทั้ง iSCSI และ NFS แต่จะมีเฉพาะ iSCSI เท่านั้นที่สามารถทำ hardware acceleration เป็นค่าดีฟอล์ท ซึ่งหากใช้เป็น NFS จะทำให้มีปัญหา performance ได้ ต้องติดตั้งเพิ่มต่างหาก

เริ่มต้นสังเกตุที่ NFS datastore จะบอกว่า Unsupported

ดังนั้นจึงจำเป็นต้องติดตั้งไดรเวอร์หรือ vib ของ Synology NFS เสียก่อน โดยสามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ synonfs-vaai-plugin-1.1-1004.vib และ esx-nfsplugin.vib

แล้วก็อัพโหลดเข้าไปใน ESXi (อย่าลืมไป enable SSH service ก่อนนะครับ) ในรูปผมอัพโหลดด้วย FileZilla ง่ายดี

แล้วก็ connect ด้วย SSH ไปที่ ESXi

[root@NUC-3:~] esxcli software vib install -v /tmp/esx-nfsplugin.vib --no-sig-check

Installation Result
    Message: The update completed successfully, but the system needs to be rebooted for the changes to be effective.
    Reboot Required: true
    VIBs Installed: Synology_bootbank_esx-nfsplugin_1.0-1
    VIBs Removed:
    VIBs Skipped:
[root@NUC-3:~]
[root@NUC-3:~] esxcli software vib install -v /tmp/synonfs-vaai-plugin-1.1-1004.vib --no-sig-check
Installation Result
    Message: The update completed successfully, but the system needs to be rebooted for the changes to be effective.
    Reboot Required: true
    VIBs Installed: Synology_bootbank_synonfs-vaai-plugin_1.1-1004
    VIBs Removed:
    VIBs Skipped:
[root@NUC-3:~]

หลังจากนั้น reboot ESXi ก็จะใช้งานได้ หากต้องการตรวจสอบหลังจาก reboot สามารถเข้าไปดูได้ที่

[[root@NUC-3:~] esxcli software vib list | grep 'nfs'
esx-nfsplugin 1.0-1 Synology VMwareAccepted 2017-10-22
synonfs-vaai-plugin 1.1-1004 Synology VMwareAccepted 2017-10-22
[root@NUC-3:~]

เมื่อตรงสอบผ่าน vSphere Web Client ก็จะเห็นเป็น Supported แบบนี้

อ้างอิงจาก
How do I install Synology NFS VAAI Plug-in on an ESXi host?
Synology NFS Plug-in for VMware VAAI

โดยปกติ VMware ESXi ที่เป็นเวอร์ชันฟรีที่ไม่มี license ของ vCenter Server ๗ะไม่สามารถใช้คำสั่ง clone ได้ แต่อย่างไรก็ตามเรายังสามารถ copy vmdk file ผ่านทาง command line ได้ แล้วค่อยสร้าง VM ตัวใหม่ให้มาเรียกใช้ vmdk file ทีหลังก็ได้ ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้คำสั่ง vmkfstools

เริ่มจาก
1) สร้าง directory สำหรับ VM ใหม่ ชื่อว่า Server2

[root@ESXi-1:~] cd /vmfs/vmfs/volumes/volume_A
[root@ESXi-1:/vmfs/volumes/volume_A] mk Server2

2) ใช้คำสั่ง vmkfstools แล้วตามด้วย -i source_vmdk destination_vmdk และระบุชนิดของดิสก์ด้วย -d thin ดังนี้

[root@ESXi-1:/vmfs/volumes/volume_A] vmkfstools -i ./Server1/Server1.vmdk ./Server2/Server2.vmdk -d thin

3) รอจนครบ 100% ระยะเวลาขึ้นอยู่กับขนาดของไฟล์ vmdk และความเร็วของ datastore

[Destination disk format: VMFS thin-provisioned
Cloning disk './Server1/Server1.vmdk'...
Clone: 100% done.

สำหรับ syntax และ option อื่นๆ ของ vmkfstools สามารถดูได้ที่ Cloning or Converting a Virtual Disk or RDM

สำหรับคนที่ใช้ VMware ESXi ตั้งแต่เวอร์ชั่น 6.0 Update 2 ขึ้นไป (ตอนนี้ยังไม่มีใหม่กว่านี้ แต่เขียนเผื่อไว้ก่อน) สามารถบริหารจัดการ VMware ESXi ได้โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้ง vSphere Client ก่อนใช้งาน โดยสามารถเปิดใช้งานผ่านเวปบราวเซอร์ได้เหมือนกับ vSphere Web Client แบบไม่ต้องมี vCenter Server ด้วย

วิธีการใช้งานคือ
1) เปิดเวปบราวเซอร์ แล้วกรอก IP หรือ name ของ ESXi จะพบว่ามีเมนูใหม่เพิ่มมาคือ Open the VMware Host Client คลิ๊กได้เลยVMware_Host_Client_1

2) จะพบหน้าให้ login ก็ใช่ user กับ password แล้วก็ login
VMware_Host_Client_2

3) เราสามารถบริหารจัดการได้เหมือนกับ vSphere Client เลย เพียงแค่เมนูอยู่คนละที่เท่านั้น โดยมีฟีเจอร์ที่น่าสนใจคือสามารถเปิด console ของ VM ภายในเหน้าเดิมได้ ไม่ต้องติดตั้ง plugin ใดๆ เพิ่มด้วย
VMware_Host_Client_3

บางครั้งเมื่อเปิด vSphere Client ไปที่ vCenter Server เราอาจพบว่า ESXi not responding และมี alert เกี่ยวกับ Host connection and power state ตามรูป และจะเป็นพักๆ เดี๋ยวใช้ได้ เดี๋ยวก็มีปัญหา แต่หากใช้ vSphere Client ไปที่ ESXi โดยตรงจะไม่เจอปัญหาใดๆ

ปัญหานี้อาจเกิดขึ้นได้จากการเชื่อมต่อระหว่าง vCenter server กับ ESXi host ซึ่งอาจถูกบล๊อกโดย Windows Firewall
ESXi-Disconnect-1

เราสามารถปิด Windows Firewall ได้โดยไปที่ Control Panel –> Windows Firewall
เมื่อเปิดขึ้นแล้วให้เลือก Windows Firewall Properties แล้วเปลี่ยน Firewall state จาก on ให้เป็น off โดยอาจทำทั้ง Domain Profiles, Private Profile และ Public Profile เลยก็ได้ครับ
ESXi-Disconnect-2

เมื่อแก้เรียบร้อยแล้ว ก็ Firewall state ก็จะแสดงเป็น off หมด
ESXi-Disconnect-3

เมื่อกลับไปที่ vSphere Client ก็จะพบว่าสถานะที่เป็น not response รวมทั้ง alert หมายไปครับ
ESXi-Disconnect-4

VMware vSphere Disconnect

ปัญหา VMware vSphere disconnect ทั้ง guest และ ESXi ไม่สามารถ manage หรือทำอะไรได้

หากเกิดจาก license หมดอายุ แก้ไขโดยต่ออายุด้วย license key ใหม่
โดยไปที่ Home

ไปที่ Administration > Licensing จากนั้นก็กรอก license key ชุดใหม่

กลับมาที่ Home > Inventory > Hosts and Clusters จากนั้นเลือกที่ ESXi แล้วเลือก Connect เท่านี้ก็จะสามารถใช้งานได้เหมือนปกติ